การกำหนดรูปแบบเอกสาร
คำสั่งจัดรูปแบบเอกสารตามที่กำหนดและคำสั่งการตีเส้นบรรทัดการใส่เส้นคั่นในเอกสาร เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะแบ่งข้อมูลให้เป็นสัดส่วน
และยังเป็นการตกแต่งเว็บเพจให้สวยงามได้อีกด้วย การใส่เส้นคั่นในเอกสารนั้นมีวิธีการใส่และการปรับแต่งเส้นคั่น
ดังนี้การใส่เส้นคั่นในแนวนอน
(Horizontal
Rule) เป็นการใส่เส้นคั่นเพื่อแบ่งข้อมูลออกเป็นสัดส่วนให้ดูง่ายขึ้น โดยการใช้
Tag<HR>รูปแบบของคำสั่ง HTML ที่ใส่เส้นคั่นในเอกสาร<HR>ข้อมูลที่ต้องการแบ่งการกำหนดขนาดของเส้นคั่นรูปแบบของคำสั่ง HTML ในการกำหนดขนาดของเส้นคั่น<HR WIDTH=ความยาวของเส้นคั่น SIZE=ความหนาของเส้นคั่น>ความยาวและความหนาของเส้นนั้น
มีหน่วยเป็นพิกเซล
โดยมีความยาวสูงสุดที่ 800 พิกเซล
และความหนาสูงสุด 500 พิกเซล การกำหนดให้เป็นเส้นคั่นทึบ เส้นคั่นปกติจะเป็นแบบโปร่ง
หากต้องการกำหนดให้เป็นเส้นคั่นแบบทึบก็สามารถทำได้ รูปแบบของคำสั่ง HTML ในการกำหนดให้เป็นเส้นคั่นทึบ
<HR NOSHADE>การกำหนดตำแหน่งให้เส้นคั่น สามารถกำหนดเส้นคั่นในเอกสาร HTML ได้ดังนี้
รูปแบบ
|
คำอธิบาย
|
LEFT
|
จัดชิดซ้าย
|
CENTER
|
จัดกึ่งกลาง
|
RIGHT
|
จัดชิดขวา
|
รูปแบบของคำสั่ง
HTML
ในการกำหนดตำแหน่งเส้นคั่น <HR ALIGN =รูปแบบที่ต้องการ>
การใส่สีให้เส้นคั่น
รูปแบบของคำสั่ง HTML
ในการใส่สีให้เส้นคั่น <HR COLOR=สีที่ต้องการ>
การนำรูปภาพมาเป็นเส้นคั่น
การนำรูปภาพมาเป็นเส้นคั่น
รูปแบบของคำสั่ง
HTML
ในการนำรูปภาพมาเป็นเส้นคั่น
<IMG SRC=ชื่อไฟล์รูปภาพ.นามสกุล>
ตัวอย่างโปรแกรม
|
<HTML>
<HEAD> <TITLE>การใส่เส้นคั่นในเอกสาร</TITLE></HEAD> <BODY> <CENTER><font size=7 color=blue>การใส่เส้นคั่นในเอกสาร</font> <HR COLOR =GREEN WIDTH=650 SIZE=5><br> <img src="1050.gif" width="500" size="10"><br> <font face="lrisUPC" size="5">การใส่เส้นคั่นโดยใช้รูปภาพ</font></CENTER><p> </BODY> </HTML> |
การกำหนดลักษณะและแบบของตัวอักษร
เป็นการกำหนดลักษณะตัวอักษรแบบเจาะจงไม่ว่าจะแสดงบนบราวเซอร์ใด
ก็จะแสดงผลเหมือนกัน เช่น การกำหนดให้ตัวอักษรเป็นตัวหนา ตัวเอียง ตัวขีดฆ่า ตัวขีดเส้นใต้
แสดงแบบเลขยกกำลังในสูตรทางคณิตศาสตร์ หรือแสดงแบบตัวห้อยในสูตรทางวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
ตัวอย่างโปรแกรม
<HTML>
<HEAD>
<TITLE>การกำหนดรูปแบบของตัวอักษร</TITLE>
</HEAD>
<BODY>
การกำหนดรูปแบบตัวอักษรแบบต่าง ๆ
<P>
<B>นางสาวจีราภรณ์ พิศราจันทร์</B><P>
<I>นางสาวจีราภรณ์ พิศราจันทร์</I><P>
<S> นางสาวจีราภรณ์ พิศราจันทร์</S><P>
<U> นางสาวจีราภรณ์ พิศราจันทร์</U><P>
ข้อความแบบฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์ Super
Script E=MC<SUP>2</SUP><P>
ข้อความแบบสูตรทางวิทยาศาสตร์ Sub Script
H<SUB>2</SUB>O<P>
</BODY>
</HTML>
ผลลัพธ์ที่ได้
การกำหนดรูปแบบตัวอักษรแบบต่าง
ๆ
นางสาวจีราภรณ์ พิศราจันทร์
การกำหนดตัวอักษรแบบตัวเอียง
นางสาวจีราภรณ์ พิศราจันทร์
การกำหนดรูปแบบตัวอักษรแบบขีดฆ่า
การกำหนดรูปแบบตัวอักษรแบบขีดเส้นใต้
นางสาวจีราภรณ์ พิศราจันทร์
ข้อความแบบฟังก์ชั่นทางคณิตศาสตร์
Super
Script E=MC2
ข้อความแบบสูตรทางวิทยาศาสตร์
Sub
Script H2O
<B>...</B>
|
เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดรูปแบบตัวอักษร-ตัวเข้ม
|
<I>...</I>
|
เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดรูปแบบตัวอักษร-ตัวเอียง
|
<S>...</S>
|
เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดรูปแบบตัวอักษร-ตัวขีดฆ่า
|
<U>...</U>
|
เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดรูปแบบตัวอักษร-ตัวขีดเส้นใต้
|
<SUP>...</SUP>
|
เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดรูปแบบ
Super
Script
|
<SUB>...</SUB>
|
เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดรูปแบบ
Sub
Script
|